เคสกลืนเข็ม เจ้าของเห็นแมวเล่นด้ายไหมที่ร้อยเข็มเย็บผ้า

9252 Views  | 

เคสกลืนเข็ม เจ้าของเห็นแมวเล่นด้ายไหมที่ร้อยเข็มเย็บผ้า

ประวัติสัตว์ป่วย
ชื่อสัตว์ : ทอง                         สายพันธุ์ : แมว                      อายุ : 5 ปี               เพศ : เมีย             
สี : ลาย-น้ำตาลส้ม
                   ชื่อเจ้าของ : คุณ วรรณภา น้อยประชา 


            
เจ้าของได้เล่าเหตุการณ์ให้คุณหมอฟังว่า
ในขณะที่เจ้าของกำลังเย็บผ้าอยู่ เจ้าของเห็นแมวเล่นด้ายไหมที่ร้อยเข็มเย็บผ้า เล่นไปเล่นมา แมวเอาด้ายฝั่งหนึ่งเข้าปากแล้วค่อยๆ กลืนจนเข็มหายเข้าไปในลำคอ หลังจากนั้น แมวแสดงอาการขย้อนไม่สบายคอตลอดเวลา
แนวทางการวินิจฉัยเนื่องจากผมไม่แน่ใจว่า แมวจะกินเข็มลงไปจริงๆ รึเปล่า เพราะไม่น่าจะเป็นพฤติกรรมปกติของแมวที่จะกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป และตอนที่แมวพามาถึงโรงพยาบาล ด้วยอาการตื่นกลัวของแมวเอง ทำให้แมวไม่แสดงอาการขย้อนหรือไอให้เห็นนัก นอกจากนี้ยังไม่พบสิ่งใดที่ชัดเจนจากการตรวจร่างกายมากนัก อย่างไรก็ดี เมื่อลองถ่ายภาพรังสี (x-ray) พบว่ามีวัตถุแปลกปลอมชนิดโลหะมีลักษณะคล้ายเข็มเย็บภาพปรากฏขึ้นภายในหลอด อาหารของแมว

ทางเลือกในการรักษา
เนื่องจากสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหาร สามารถเจอได้ตั้งแต่ทางเดินอาหารส่วนต้น (ปาก, คอหอย, หลอดอาหาร) ไปจนถึง กระเพาะอาหาร ลำไส้ส่วนต้น ส่วนกลาง ส่วนท้าย และลำไส้ตรง ตำแหน่งของสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ต่างกัน ย่อมต้องใช้วิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดนำสิ่งแปลกปลอมออกได้ง่าย ได้แต่ กระเพาะอาหาร และ ลำไส้ เพราะเป็นอวัยวะที่เข้าถึงได้ง่าย มีขนาดใหญ่ และอยู่ในช่องท้อง การที่สิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดอาหาร เป็นปัญหาที่ค่อนข้างลำบาก เพราะ หลอดอาหารอยู่ในตำแหน่งของคอและช่องอก หากต้องเปิดผ่าตัด อาจต้องมีเครื่องช่วยหายใจเพื่อคงสภาพการทำงานของปอดในระหว่างผ่าตัด นอกจากนี้หลอดอาหารเองก็มีกล้ามเนื้อเรียบลักษณะพิเศษที่ค่อยบีบไล่อาหารจาก คอหอยไปยังกระเพาะอาหาร การกรีดผ่าหลอดอาหารจึงสามารถพบผลข้างเคียงของกล้ามเนื้อเรียบตรงนี้ได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นหลอดอาหารตีบ กล้ามเนื้อหย่อนยานจนเสียรูปทรง ผนังของหลอดอาหารเกิดเป็นพังผืดทำให้ไม่สามารถบีบไล่อาหารได้อย่างปกติ วิธี ที่อาจได้ผลดีอีกวิธีคือการคีบออกจากทางปาก ซึ่งสามารถทำได้โดยการส่องกล้องขนาดเล็กเข้าสู่หลอดอาหาร(endoscope) ซึ่งอุปกรณ์ชุดนี้จะมีปากคีบขนาดเล็กคู่มากับตัวกล้อง สามารถใช้แทนมือเข้าไปหยิบคีบออกมาได้ง่าย ข้อเสียของวิธีนี้คือ อุปกรณ์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายและมีราคาแพง ทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีให้เห็นอยู่แค่โรงพยาบาลสัตว์ของมหาวิทยาลัยเป็น ส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะต้องรอคิวรักษาในระยะเวลานาน และค่าใช้จ่ายในการรักษาก็มีราคาแพงมากเช่นกัน นอกจากนี้อุปกรณ์นี้จำเป็นต้องใช้สัตวแพทย์ผู้ชำนาญอุปกรณ์ในการใช้ด้วย

แผนการรักษาต่อไป
                เมื่อนำสิ่งแปลกปลอมออก ก็รอให้แมวฟื้นจากการสลบ ซึ่งแมวก็ฟื้นได้ดี สิ่งที่ผมมองไม่เห็นคือ ภายในผนังหลอดอาหารอาจมีบาลแผลหรือรอยถลอกที่เกิดขึ้นจากตัวเข็ม ผมจึงจ่ายยาเคลือบกระเพาะและยาฆ่าเชื้อให้เจ้าของไปป้อนยาต่อที่บ้านและ หมั่นสังเกตอาหาร โดยเฉพาะอาการสำรอกอาหารและอาเจียน ต่อไป

นับเป็นโขคดีมากๆ ทั้งสำหรับ “ทอง” และ ตัวผมเอง ที่สามารถนำสิ่งแปลกปลอมออกได้ โดยที่ “ทอง”ไม่ต้องไปรักษาโดยการผ่าตัดใหญ่

สำหรับตัวของทองเอง เข็มอยู่ลึกลงไปจากคอหอยประมาณ 4-5 ซม. นอกจากนี้ หากต้องปล่อยให้เข็มคาไว้ที่หลอดอาหารนานเกินไป อาจจะยิ่งทำให้หลอดอาหารเกิดภาวะอักเสบ จุดเลือดออก เป็นแผล มากขึ้น หากแมวมีการขย้อนมากขึ้นผมจึงคิดว่า อาจจะลองเริ่มต้นจากการวางยาให้แมวสลบก่อน แล้วลองใช้ปากคีบหลอดเลือดแดง (artery forceps) คีบดูโดยที่ไม่สามารถมองเห็นได้ (blind technique) ถือเป็นการรักษาที่มีความท้าทายมาก

                จึงเปิดเส้นให้น้ำเกลือ วางยาสลบและสอดท่อช่วยหายใจกับทอง ให้ลึกเพียงพอที่จะสามารถอ้าปากและสอดปากคีบลงคอได้ ทั้งนี้ ผมได้ใช้อุปกรณ์วางยาแบบดมยาสลบ ให้ออกซิเจน และให้สารน้ำควบคู่ไปด้วย เพื่อความปลอดภัยแก่ตัวแมว ท่อช่วยหายใจมีข้อดีอีก 1 อย่าง คือ ช่วยทำให้การสอดปากคีบไม่ลงไปในหลอดลมของแมว เมื่อทุกอย่างพร้อม จึงจับแมวตั้งคอขึ้น นำปากคีบสอดเข้าไปเพื่อคีบเอาเข็มออก ผมและสัตวแพทย์อีกหนึ่งท่านใช้ความพยายามอยู่ประมาณ ครึ่งชั่วโมง ก็สามารถคีบปลายด้ายที่ผู้ติดกับเข็มออกมาที่ลำคอของแมว ทำให้สามารถคีบเข็มออกมาจากหลอดอาหารของแมวได้ในที่สุด






Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy