แผลที่ริมฝีปากแมว อาจจะไม่ใช่แค่แผลธรรมดาก็ได้

50017 Views  | 

แผลที่ริมฝีปากแมว อาจจะไม่ใช่แค่แผลธรรมดาก็ได้

 คุณหมออายุรกรรมได้ทำการตรวจและจ่ายยาเบื้องต้นโดยให้ ได้แก่ ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้แพ้ และสเปรย์พ่นทำความสะอาดแผลช่องปากไป 1 สัปดาห์ หลังจากนัดมาตรวจซ้ำพบว่าแผลยังไม่ดีขึ้น มีลักษณะที่เห่อหนาและแดงกว่าเดิม คุณหมออายุรกรรมสงสัยว่าอาจจะไม่ใช่แค่แผลริมฝีปากธรรมดา จึงทำการส่งมาตรวจวินิจฉัยต่อที่คลินิกโรคแมว เพื่อหาสาเหตุของโรค

 




เมื่อโทโทโร่เข้ามาตรวจที่คลินิกโรคแมว พบว่ารอยโรคที่ริมฝีปากบนมีลักษณะเป็นแผลปื้น (ulcerative lesion) หนาตัวและเป็นสีแดง ลักษณะแผลคล้ายๆกับแผลร้อนในเกิดที่บริเวณริมผีปาก จึงทำการวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการเก็บเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวและนำเซลล์ที่ได้ไปย้อมสีเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา (cytology) ผลการตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil จากตัวอย่างที่เก็บไป ทำให้สงสัยกลุ่มโรคระบบภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งในแมวที่มักจะเกิดในช่องปากและพบเจอได้บ่อย มีชื่อกลุ่มโรคนี้ว่า Eosinophilic Granuloma Complex หรือ Feline Indolent Ulcer


น้องโทโทโร่เริ่มรับการรักษาโดยได้รับยากดภูมิสำหรับโรคนี้ โดยใช้เวลาถึง 4 สัปดาห์หลังจากเริ่มทำการรักษาด้วยยานี้รอยโรคที่ริมฝีปากถึงเริ่มมีขนาดเล็กลงและแดงลดลง ทั้งนี้ระยะเวลาในการรักษาจะแตกต่างกันขึ้นกับระดับความรุนแรงของโรคและการตอบสนองต่อยาในแมวแต่ละตัวด้วย ที่สำคัญคือการป้อนยาต้องต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยอาจจะต้องใช้เวลาในการรักษามากกว่า 8-10 สัปดาห์ และยากดภูมิสำหรับโรคนี้ไม่สามารถหยุดยาได้ทันที จำเป็นต้องค่อยๆลดระดับยาลงเรื่อยๆจนกว่าจะไม่พบรอยโรคกลับมาจึงจะทำการหยุดยาได้


ข้อมูลเพิ่มเติมของโรคนี้

สาเหตของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีรายงานว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของภูมิแพ้ (Allergic) และภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity Reaction) ดังนั้นแมวที่รักษาหายแล้วจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หรือพบว่าเป็นๆหายๆได้ตลอดอายุขัย หรือในแมวบางตัวมีอาการแย่ลงระหว่างทำการรักษาได้ หากแมวยังได้รับการกระตุ้นจากสารที่ก่อการแพ้อย่างต่อเนื่อง



เรียบเรียงโดย นสพ.ธนกฤต ความสุข คลินิกโรคแมว รพส.ไอเว็ท

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy