ระวังกันสักนิด! กับโรคฮิตติดตัว! จาก 6 สายพันธุ์ ‘บ็อก! บ็อก!’ ( ตอนที่ 2 )

16360 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ระวังกันสักนิด! กับโรคฮิตติดตัว! จาก 6 สายพันธุ์ ‘บ็อก! บ็อก!’ ( ตอนที่ 2 )

พันธุ์นี้ก็ชอบ พันธุ์นู้นก็ใช่! นอกจากจะเลือกน้อง ๆ จากความชอบแล้ว ยังมีอีกหลายองค์ประกอบที่คุณแม่ต้องคำนึงถึง แต่ประเด็นสำคัญที่สุด! ที่เราหยิบยกมาวันนี้คือ ‘โรคที่มีแต่กำเนิดในแต่ละพันธุ์’ ที่คุณแม่ต้องรู้! เพราะเราเชื่อว่า คุณแม่ก็คงอยากที่จะดูแลเขาให้มีสุขภาพแข็งแรง อยู่ด้วยกันไปนาน ๆ ใช่ไหมคะ? จะมีโรคอะไรในสายพันธุ์ไหนบ้าง? ต้องติดตามแล้วล่ะ! : )

 

 

เจ้าสี่ขาโหลดมาเตี้ย ๆ ลำตัวย๊าวยาววว ส่ายก้นดุ๊กดิ๊กไปมา ก็บอกได้ทันที ว่าคุณคนนี้เขาคือคอร์กี้นั่นเอง! เป็นที่รู้จักในวงกว้างทั่วโลก! เพราะไม่ว่าใครเห็นก็อดที่จะเก็บภาพดาราหน้ากล้องตัวป้อม ๆ อย่างเจ้าคอร์กี้ไม่ได้! ภายใต้รูปร่างที่ดูน่ารักน่าชังนี้ ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เหล่าคุณแม่ต้องพึงระวัง เกี่ยวกับโรคประจำสายพันธุ์ของน้องคอร์กี้ด้วยนะคะ ซึ่งจะมีโรคอะไรบ้าง ตามอ่านได้เลย!
.
โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia) เห็นน้องยืนทรงตัวแล้วดูซ่าสั่น ๆ เดี๋ยวเอียงบ้าง ขาหลังปัดไปมาบ้าง เจ็บขาเวลาเดินหรือวิ่ง จะลุกขึ้น หรือนั่งลง ก็ลำบากสุด ๆ เพราะนี่คืออาการเบื้องต้นที่เจ้าคอร์กี้มักประสบอยู่เป็นประจำ โรคข้อสะโพกเสื่อม เกิดมาจากความผิดปกติของการพัฒนากระดูกข้อสะโพกค่ะ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับข้อต่อและกระดูกต้นขา ทำให้น้อง ๆ เคลื่อนที่ผิดปกตินั่นเอง
.
การเสื่อมของจอประสาทตา (Progressive Retinal Atrophy) เวลามืด ๆ ทีไร ชอบมีเสียง ‘โป๊ก! ตึ่ง! เคร๊ง!’ ชนทุกอย่างที่ขว้างหน้าทุกครั้งไป! สืบจนพบตัวการ! เจอเจ้าคอร์กี้เดินดุ่มซุ่มซ่ามอยู่นี่เอง! แต่ขอให้คุณแม่สังเกตให้ดี ๆ เพราะนี่คือสัญญาณบ่งบอกถึงการเสื่อมของจอประสาทตา โดยน้องคอร์กี้จะเริ่มมองไม่เห็นในที่ที่มีแสงสว่างน้อยหรือในที่มืด และสำหรับขั้นรุนแรง คือน้อง ๆ จะไม่สามารถมองเห็นได้ แม้ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ น่ากลัวมาก ๆ เลยค่ะ
.
โรคไขสันหลังเสื่อม (Degenerative myelopathy) เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่หากเจ้าคอร์กี้ของคุณเริ่มมีอายุมากขึ้น ก็จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคไขสันหลังเสื่อมได้นะคะ โรคนี้เกิดจากความเสื่อมของไขสันหลัง นำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย กล้ามเนื้อฝ่อและอ่อนแรง ซึ่งอาจมีอาการอัมพาตร่วมด้วย น้อง ๆ จะไม่สามารถกลั้นการขับถ่ายได้เลย ซึ่งเราขอแนะนำให้คุณแม่รีบพาน้องคอร์กี้มาหาหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อรักษาน้องได้อย่างตรงจุดและทันเวลาจะดีที่สุดค่ะ

 

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever)
พี่ใหญ่ใจดี รักเด็ก สปอร์ต อ่อนโยน! ต้องยกให้เจ้าโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ด้วยความเป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่ขนยาว ทำให้มีโอกาสการเกิดโรคที่เกี่ยวกับกระดูก ผิวหนัง และภูมิคุ้มกันได้ง่ายกว่าน้อง ๆ สายพันธุ์อื่น ข้อควรระวังที่คุณแม่ต้องรู้ จะมีอะไรบ้าง? อ่านได้เลย!
.
โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip Dysplasia) พี่ใหญ่(แต่ใจแบ๊วนะ!) มักมีปัญหาในเรื่องของโครงสร้างสายพันธุ์มาเป็นอันดับหนึ่ง การเกิดโรคข้อสะโพกเสื่อมในสายพันธุ์ใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ คือความผิดปกติของการพัฒนากระดูกข้อสะโพก มีปัญหาที่ข้อต่อและกระดูกต้นขา ทำให้พี่โกลเด้นมีอาการทรงตัวลำบาก เดินขาปัดไปมาเหมือนทรงตัวไม่อยู่ และหากเริ่มมีอาการรุนแรงขึ้น พี่โกลเด้นก็จะเริ่มซึมและไม่ค่อยร่าเริง เพราะเขารู้สึกเจ็บจากการเคลื่อนไหวนั่นเองค่ะ
.
ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ (Hypothyroidism) หากพบว่าพี่ใหญ่ของคุณแม่มีอาการซึม ๆ ไม่ร่าเริง อ่อนแอ ไม่ขยับร่างกายไปไหน แต่น้ำหนักตัวกลับขึ้นเอา..ขึ้นเอา! คุณแม่หลายคนคงจะสงสัยกันใช่ไหมคะ? เห็นพี่โกลเด้นดูอ้วนท้วนสมบูรณ์ดี แต่จริง ๆ แล้ว นี่เป็นอาการเบื้องต้นของภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติค่ะ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันที่ทำร้ายต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้อย่างปกติค่ะ
.
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ผิวหนังบอบบางและแพ้ง่ายของพี่โกลเด้น อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน และความผิดปกติของผิวหนังในการทำหน้าที่ป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อม ทำให้พี่ใหญ่เกิดอาการคันอย่างหนัก! เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะติดเชื้อทางผิวหนังได้มากขึ้นอีกด้วยนะ!

 

 

ชิสุห์ (Shih Tzu)
เจ้าตัวเล็กสุดขี้อ้อน ชอบให้คนเอาใจใส่สุด ๆ โดยเฉพาะเจ้าของอย่างคุณ! ชิสุห์เป็นสุนัขพันธุ์เล็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตามากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งเลยนะคะ ดังนั้นเรามาสังเกตอาการบ่งชี้ที่อาจจะทำให้เกิดโรคกันก่อนดีกว่าค่ะ! กันไว้ดีกว่าแก้นะคะคุณแม่ : )
.
ภาวะหนังตาม้วนเข้า (Entropion) ‘น้องไม่ได้ดราม่า แต่ว่าน้ำตามันมาเอง!’ และมีอาการตาแดงร่วมด้วย หากทิ้งเวลาเอาไว้นานโดยไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาขาวและเกิดการระคายเคืองต่อดวงตาอยู่เสมอ สร้างความรำคาญใจให้น้อง ๆ ไม่น้อยเลยค่ะ สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาคือ การผ่าตัดแก้ไขภาวะหนังตาม้วนเข้า ถือเป็นการแก้ไขในระยะยาวเพื่อไม่ให้หนังตาม้วนเข้าไปในลูกตาให้น้องชิสุห์ระคายเคืองอีกต่อไป!
.
ภาวะจอตาเสื่อม (Retinal Degeneration) ‘เธอทำให้ฉันตะลึง! ตะลึง! ตะลึง!’ แต่หากคุณแม่เห็นน้องชิสุห์ทำตาตะลึง! เบิกกว้าง ก็ใช่ว่าจะปกตินะคะ ซึ่งอาการม่านตาขยายกว้าง มักเกิดขึ้นกับน้อง ๆ ที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย โดยการที่น้องชิสุห์มีอาการม่านตาขยายกว้าง ไม่ตอบสนองต่อแสง หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือดบางชนิด ทำให้เกิดจุดเลือดในจอประสาทตาขึ้น ส่งผลให้เกิดการหลุดลอกของจอประสาทตา หากมีอาการรุนแรงอาจส่งผลให้น้อง ๆ ตาบอดได้เลยนะคะ
.
ภาวะทองแดง (Cryptorchidism) เป็นภาวะที่มีลูกอัณฑะลูกใดลูกหนึ่ง หรือทั้งสองใบ ไม่ลงมายังถุงอัณฑะ โดยลูกอัณฑะจะหลงอยู่ในช่องท้อง หรือช่องขาหนีบของน้อง ๆ นั่นเอง! ซึ่งสาเหตุอาจเกิดขึ้นจากพันธุกรรมค่ะ โดยภาวะทองแดงนี้ สามารถรักษาได้ด้วยการทำหมันค่ะคุณแม่ : ) ซึ่งเป็นวิธีที่สัตวแพทย์ส่วนใหญ่แนะนำ ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าคุณแม่ปล่อยให้เกิดภาวะทองแดงต่อไปในร่างกาย สุดท้ายอาจพัฒนาเป็นเนื้อร้ายได้ด้วยนะคะ น่ากลัวสุด ๆ
.
โรคต้อกระจก (Cataracts) ‘เลนส์แว่นไม่ใสยังใช้ผ้าเช็ด แต่หากน้อง ๆ รู้สึกมองอะไรก็ไม่ชัดเจน ใช้ผ้าเช็ดก็คงไม่หายดี!’ หากคุณแม่พบว่าน้องชิสุห์เริ่มมีแก้วตาที่ขุ่นมัว ไม่สดใส สาเหตุมาจากการตกตะกอนของโปรตีนภายในแก้วตา จึงทำให้น้องมองเห็นไม่ชัดเจน โดยโรคต้อกระจกนี้ สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยและเกิดผลข้างเคียงมาจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ส่งผลให้น้องเป็นต้อกระจกได้ด้วยนะคะ
.
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโรคฮิตติดตัวที่คุณแม่ควรระวัง! แต่ทางที่ดี เราขอแนะนำให้คุณแม่ศึกษาสายพันธุ์ และต้นตระกูลของน้องปอมก่อนรับมาดูแลนะคะ เพื่อป้องกันการเกิดโรคจากต้นสายพันธุ์กันไปเลย! ดูโรคให้ดูนาน ๆ ดูนางให้ดูแม่นะคะ : )

 

โรงพยาบาลสัตว์ไอเว็ท เปิดบริการ 24 ชม.
ตอบทุกปัญหาเรื่องสัตว์เลี้ยง..จากสัตวแพทย์โดยตรง
Line : @ivethospital >> http://line.me/ti/p/%40qsa5376w
Hotline : 085-244-7899
website : www.ivethospital.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้